วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

พันธมิตรฯมีแกนนำ 5 คน ซึ่งเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลทักษิณ และรัฐบาลสมัคร มาอย่างต่อเนื่อง ดังต่อไปนี้

สนธิ ลิ้มทองกุล
พล.ต. จำลอง ศรีเมือง
สมศักดิ์ โกศัยสุข
พิภพ ธงไชย
สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
นอกจากนี้ยังมีผู้ประสานงานคนอื่นรวมถึงกลุ่มอื่น เช่น



สุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)
ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ เลขาธิการสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย
ทพ. ศุภผล เอี่ยมเมธาวี เลขาธิการสมัชชาประชาชนภาคอีสาน 19 จังหวัด และประธานกลุ่มภาคีมวลชนคนโคราชรักประชาธิปไตย
สุวิทย์ วัดหนู (เสียชีวิตไปแล้ว)
ดร. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีต สว. กทม. ผู้ดำเนินรายการ "รู้ทันทักษิณ"
นพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีต สว. อุบลราชธานี
นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีต สว. นครราชสีมา
นายการุณ ใสงาม อดีต สว. บุรีรัมย์
เป็นต้น

กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หลังเกิดการปฏิรูปโดย คปค.
หลังจากเกิดการปฏิรูปโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทางกลุ่มพันธมิตรฯซึ่งแผนการเดิม จะมีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ เพื่อขับไล่รัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ออกจากตำแหน่ง ก็ได้ยุติการชุมนุมไป แล้วทิศทางในปัจจุบันนี้คือ ทางแกนนำกลุ่มพันธมิตรทั้ง 5 คน ก็ได้ตัดสินใจแยกทางกันตามปกติ ยุติการเคลื่อนไหวแล้ว แต่ก็ยังมีการจับตาทางฝ่ายของอดีตนายกรัฐมนตรีอยู่ เพื่อไม่ให้อดีตนายกรัฐมนตรีรวมทั้งคณะรัฐมนตรีในพรรคไทยรักไทย กลับมาเป็นรัฐบาลอีก

กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ช่วงรัฐบาลสมัคร 1
กลุ่มพันธมิตรฯ มองว่า สมัคร สุนทรเวช เป็นนอมินีของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จึงได้ประชุมกันและเริ่มมีความเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านรัฐบาลสมัคร 1 ที่ผ่านมากลุ่มพันธมิตรฯ ได้มีการออกแถลงการณ์พร้อมทั้งมีการจัดชุมนุมอย่างต่อเนื่อง

แถลงการณ์ฉบับที่ 1 คำเตือนก่อนเกิดกลียุค
แถลงการณ์ฉบับที่ 2 กลียุคมาแล้ว
แถลงการณ์ฉบับที่ 3 เคลื่อนไหวครั้งที่ 1 : ต้านเผด็จการทุนนิยมสามานย์และรัฐตำรวจ
แถลงการณ์ฉบับที่ 4 เรื่อง คัดค้านและประณามการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อลบล้างความผิดของตนเองและพวกพ้อง
แถลงการณ์ฉบับที่ 5 พร้อมต่อต้านอาชญากรประชาธิปไตยล้มล้างรัฐธรรมนูญฟอกความผิดให้ตัวเอง
แถลงการณ์ฉบับที่ 6 เรื่อง ต่อต้านรัฐประหารเงียบ
แถลงการณ์ฉบับที่ 7 กำหนดการสัมมนาประชาชน - ติดอาวุธทางปัญญา “ยามเฝ้าแผ่นดินสัญจร” ครั้งที่ 2
แถลงการณ์ฉบับที่ 8 พันธมิตรฯ ชี้ “หุ่นเชิด” ก่อวิกฤตเตือนแก้ รธน.เป้าหมายอันตราย
แถลงการณ์ฉบับที่ 9 ชุมนุมใหญ่ต่อต้านการล้มล้างรัฐธรรมนูญ
แถลงการณ์ฉบับที่ 10 "เคลื่อนไหวต่อเนื่องเพื่อกำจัดผู้ล้มล้างรัฐธรรมนูญ"
แถลงการณ์ฉบับที่ 11 "โค่นระบอบทักษิณ ไล่รัฐบาลอันธพาลหุ่นเชิด"
แถลงการณ์ฉบับที่ 12 "ประกาศจุดยืนต่อกรณีรัฐบาลจะสลายการชุมนุม"
แถลงการณ์ฉบับที่ 13 "ประณามนายกรัฐมนตรีหุ่นเชิด"
แถลงการณ์ฉบับที่ 14 “พันธมิตรฯ” แถลงเคลื่อนขบวนด้วยความสงบ-อหิงสา-ปราศจากอาวุธ
ลำดับเหตุการณ์การชุมนุมต้านรัฐบาลสมัคร

ในคืนวันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม 2551 นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้ออกมากล่าวในรายการยามเฝ้าแผ่นดินว่า การชุมนุมในวันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม 2551 นี้ เป็นการต่อสู้ครั้งสุดท้าย และเรียกร้องให้ประชาชนออกมาร่วมชุมนุมกับพันธมิตรจนถึงที่สุด[1]
หลังจากการชุมนุมตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม 2551 จนกระทั่งเคลื่อนย้ายมาชุมนุมบนถนนราชดำเนินนอกที่ สะพานมัฆวานรังสรรค์ ต่อมาในวันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน 2551 พันธมิตรฯ ก็ได้ใช้ยุทธศาสตร์ดาวกระจาย สงคราม 9 ทัพฝ่าแนวป้องกันของตำรวจเข้าไปถึงบริเวณสนามม้านางเลิ้งได้[2] ต่อมาจึงย้ายการปราศรัยจากเวทีที่สะพานมัฆวานฯ มาที่บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ เพื่อให้เวทีปราศรัยเข้าใกล้ทำเนียบรัฐบาลเพื่อกดดันรัฐบาล[3]
แกนนำชุดที่สอง
หลังจากปฏิบัติการเป่านกหวีดวันที่ 26 สิงหาคม 2551 พันธมิตรฯ ได้เข้าบุกยึด NBT และสถานที่ราชการหลายแห่งจนสุดท้ายเข้ายึดและชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ส่งผลให้รัฐบาลยื่นเรื่องฟ้องศาลเพื่อออกหมายจับแกนนำ รวมทั้งนาย สุริยะใส กตะศิลา, เทิดภูมิ ใจดี, อมร อมรรัตนานนท์ และ ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์[4] ต่อมาพันธมิตรฯ จึงได้มีการประกาศแกนนำชุดที่สองประกอบด้วย สาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และนายสำราญ รอดเพชร อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ มานำการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรต่อไป หากแกนนำทั้ง 5 คนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม[5]

พัลลภ ปิ่นมณี พร้อมเป็นแกนนำหาก จำลอง ศรีเมือง ถูกจับ[6]

โครงสร้างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ภาคเหนือ
กลุ่มพันธมิตรพิษณุโลก มีนายภูริทัต สุธาธรรม เป็นแกนนำ[7]
ชุมนุมลุ่มน้ำภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วยประชาชนจากกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง อาทิเช่น ตาก สุโขทัย พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ฯลฯ[8]
ภาคตะวันออก
กลุ่มพันธมิตรภาคตะวันออก มีนายสุทธิ อัชฌาศัย เป็นประธานเครือข่าย ประกอบด้วยประชาชนจากอำเภอต่างๆ ในเขตจังหวัดชลบุรี อาทิเช่น อ.เมือง อ.พนัสนิคม อ.ศรีราชา อ.บ้านบึง อ.สัตหีบ อ.บางละมุง อ.บ่อทอง อ.หนองใหญ่ อ.พานทอง อ.เกาะสีชัง รวมถึงประชาชนจากจังหวัด ระยอง ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว จันทบุรี ตราด[9]
กลุ่มพันธมิตรฯ พัทยา-นาเกลือ-บ้านบึง-พนัส มีนายยงยุทธ เมธาสมภพ เป็นประธานเครือข่าย[10]
คณะทำงานพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยจังหวัดเลย มี นายหินชนวน อโศกตระกูล เป็นแกนนำ[11]
ภาคอีสาน
สมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทยจังหวัดขอนแก่น มีนางเครือมาศ นพรัตน์ เป็นประธานสมัชชาประชาชนฯ และนายเธียรชัย นนยะโส เป็นรองประธานฯ[12]
สมัชชาประชาชนภาคอีสานจังหวัดบุรีรัมย์ มีนางสำเนียง สุภัณพจน์ เป็นประธาน มีแนวร่วมเป็นองค์กรเครือข่าย 18 องค์กร[13]
ภาคใต้
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยสตูล มี นางอุดมศรี จันทร์รัศมี[14]และ อ.ประโมทย์ สังหาร[15] เป็นแกนนำ
สมัชชาภาคใต้ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง (กำลังก่อตั้ง)[16]





อย่างไรก็ตามกระผมอยากให้ ใช้การเจรจาด้วยสันติวิธีในการชุมนุมไม่อยากเห็นคนไทยทะเลาะกันเอง ควรจะหันหน้าปรึกษากันเพื่อนำแนวทางไปแก้ปัญหาต่างๆต่อไป
เพื่อประเทศไทยจะได้พัฒนาอย่างวยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น: